นำเสนอ โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงาน การศึกษาปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดข้าวหอมมะลิ
Project A Study of Factors That Affect to Sprouting of Jasmine Rice
เด็กหญิง กวิสรา ไชโยธา
เด็กหญิง ชนากานต์ ชัยปัญญา
คุณครูที่ปรึกษา คุณครู สมส่า แก้วหลวง
คุณครู พิทักษ์ ศรีขาว
บทคัดย่อ
โครงงาน การศึกษาปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดข้าวหอมมะลิ
มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาปัจจัยที่ทำให้เมล็ดข้าวงอกได้ดีที่สุดโดยจะศึกษาข้าวหอมมะลิ กข 15
และข้าวหอมมะลิ 105 โดยได้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาการงอกของเมล็ด
ข้าวหอมมะลิ กข 15 และข้าวหอมมะลิ 105 พบว่า ข้าวหอมมะลิ กข 15 งอกได้ร้อยละ 66
และข้าวหอมมะลิ 105 งอกได้ร้อยละ 70 สรุปได้ว่าข้าวหอมมะลิ 105 มีร้อยละการงอกสูงที่สุด
ตอนที่ 2 ศึกษาการงอกของเมล็ดข้าวหอมมะลิ 105 ในสารละลายที่ต่างชนิดกัน
พบว่า ข้าวหอมมะลิ 105 ที่แช่ในสารละลายน้ำขี้เถ้างอกได้ร้อยละ 76 แช่ในน้ำซาวข้าว
งอกได้ร้อยละ 16 และแช่ในน้ำมะนาว งอกได้ร้อยละ 8
มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาปัจจัยที่ทำให้เมล็ดข้าวงอกได้ดีที่สุดโดยจะศึกษาข้าวหอมมะลิ กข 15
และข้าวหอมมะลิ 105 โดยได้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาการงอกของเมล็ด
ข้าวหอมมะลิ กข 15 และข้าวหอมมะลิ 105 พบว่า ข้าวหอมมะลิ กข 15 งอกได้ร้อยละ 66
และข้าวหอมมะลิ 105 งอกได้ร้อยละ 70 สรุปได้ว่าข้าวหอมมะลิ 105 มีร้อยละการงอกสูงที่สุด
ตอนที่ 2 ศึกษาการงอกของเมล็ดข้าวหอมมะลิ 105 ในสารละลายที่ต่างชนิดกัน
พบว่า ข้าวหอมมะลิ 105 ที่แช่ในสารละลายน้ำขี้เถ้างอกได้ร้อยละ 76 แช่ในน้ำซาวข้าว
งอกได้ร้อยละ 16 และแช่ในน้ำมะนาว งอกได้ร้อยละ 8
สรุปว่า ข้าวหอมมะลิ 105 ที่แช่ในสารละลายน้ำขี้เถ้ามีร้อยละในการงอกสูงที่สุด
สมมุติฐาน
เมล็ดข้าวหอมมะลิที่แช่ในสารละลายที่ต่างชนิดกัน สามารถงอกได้แตกต่างกัน
จุดประสงค์
1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการงอกของเมล็ดข้าวพันธุ์ข้าว
ข้าวหอมมะลิ กข 15 และ หอมมะลิ 105
2. เพื่อศึกษาการงอกของเมล็ดข้าวหอมมะลิ กข 15 และ
ข้าวหอมมะลิ 105
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ช่วยเร่งการงอกของเมล็ดข้าวหอมมะลิ
2. เพิ่มปริมาณการงอกของเมล็ดข้าวหอมมะลิ
วิธีการดำเนินงาน
ตอนที่ 1 ศึกษาการงอกของเมล็ดข้าวหอมมะลิ กข 15
และข้าวหอมมะลิ 105
1. คัดเลือกเมล็ดข้าวพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 15 และข้าวหอมมะลิ 105 โดยคัดเลือกเอาเฉพาะ
เมล็ดที่สมบูรณ์ และมีขนาดที่เท่าๆกัน ชนิดละ 50 เมล็ด
2. นำเมล็ดข้าวหอมมะลิ 105 ที่คัดเลือกไว้แล้วไปแช่ในน้ำ ในอัตราส่วน เมล็ดข้าว 50 เมล็ด
ในน้ำ 100 ml. ใช้เวลา 12 ชั่วโมง และนำเมล็ดพันธ์ข้าวหอมมะลิ 15 ไปทดลองเช่นเดียวกันกับ
เมล็ดข้าวหอมมะลิ 105
3.นำเมล็ดข้าวที่ได้จากการแช่แล้วในข้อ 2 ไปเพาะในผ้าขาวบางที่ชุบน้ำแล้วบิดพอหมาด
ห่อทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง สังเกตการงอกและบันทึกผลการทดลอง
ตอนที่ 2 ศึกษาการงอกของเมล็ดข้าวหอมมะลิ 105 ในสารละลายต่างกัน
1. คัดเลือกเมล็ดข้าวหอมมะลิ 105 จำนวน 200 เมล็ด แบ่งเป็น 4 ชุด ชุดละ 50 เมล็ด
แล้วทำการทดลอง ดังต่อไปนี้
1.1 นำเมล็ดข้าว ชุดที่ 1 แช่ในน้ำจำนวน 100 ml. ใช้เวลา 12 ชั่วโมง
1.2 นำเมล็ดข้าวที่ได้จากการแช่แล้วในข้อ 1.1 ไปเพาะในผ้าขาวบางที่ชุบน้ำแล้วบิดพอหมาด
ห่อทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง สังเกตการงอกและบันทึกผลการทดลอง
2. นำเมล็ดข้าวชุดที่ 2-4 ไปทำการทดลองเช่นเดียวกันกับข้อ 1 โดยเปลี่ยนสารละลายที่ใช้แช่
เมล็ดข้าวจากน้ำ เป็นน้ำขี้เถ้า น้ำซาวข้าว น้ำมะนาว ตามลำดับ
สรุปผลการดำเนินการ 1. เมล็ดข้าวหอมมะลิ กข 15 งอกได้ร้อยละ 66 และเมล็ดข้าวหอมมะลิ 105 งอกได้ร้อยละ 70 สรุปได้ว่าข้าวหอมมะลิ 105 มีร้อยละการงอกสูงที่สุด 2. เมล็ดข้าวหอมมะลิ 105 ที่แช่ในสารละลายน้ำขี้เถ้า งอกได้ร้อยละ76 แช่ในน้ำซาวข้าว งอกได้ร้อยละ 16 และแช่ในน้ำมะนาว งอกได้ร้อยละ 8 สรุปว่า ข้าวหอมมะลิ 105 ที่แช่ในสารละลายน้ำขี้เถ้า มีร้อยละในการงอกสูงที่สุด อภิปรายผลการทดลอง ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวที่สำคัญมี 3 ปัจจัยคือ น้ำ ออกซิเจน และอุณหภูมิ เมล็ดพันธุ์ข้าวจะงอกได้เมื่อได้รับปัจจัยดังกล่าวที่เหมาะสม และเมล็ดพันธุ์ข้าวแต่ละชนิดยังต้องการปัจจัย ในการงอกที่แตกต่างกัน น้ำเป็นปัจจัยแรกที่จะกระตุ้นให้เมล็ดพันธุ์ข้าวตื่นตัว กระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมี และขบวนการเมแทบอลิซึม ในเบื้องต้น เมล็ดพันธุ์ดูดน้ำเข้าไปทำให้เปลือกเมล็ดอ่อนนุ่มและพองโตขึ้น เนื่องจากการขยายของผนังเซลล์และโพรโทพลาสต์ เมื่อเปลือกเมล็ดอ่อนนุ่มทำให้รากแทงผ่านเปลือกได้สะดวกมากขึ้น เมล็ดพันธุ์พืชแต่ละชนิดต้องการน้ำสำหรับการงอกแตกต่างกัน บางชนิดหากได้รับน้ำมากเกินไปจะทำให้เมล็ดขาดออกซิเจนที่ใช้สำหรับหายใจและทำให้เมล็ดเน่า ในบางชนิด การที่เมล็ดพันธุ์ข้าวได้รับน้ำมากๆอาจจะทำให้เมล็ดเข้าสู่สภาวะพักตัวใหม่ ดังนั้น จึงต้องแช่เมล็ดข้าวด้วยน้ำ จากผลการทดลองพบว่า เมล็ดข้าวที่แช่ในสารละลายน้ำขี้เถ้าสามารถงอกได้เร็วขึ้น เนื่องจาก สารสะลายน้ำขี้เถ้ามีฤทธิ์เป็นเบสซึ่งสารละลายเบสจะทำให้เปลือกเมล็ดอ่อนนุ่มยิ่งขึ้น ก่อนนำไปปลูก เพื่อให้เมล็ดงอกได้มากและรวดเร็วยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะ 1. ควรศึกษาชนิดของสารละลายที่มีค่า pH แตกต่างกัน 2. ควรศึกษาการงอกของเมล็ดข้าวพันธุ์อื่น ๆ ให้มากขึ้น |
ยีนและDNA
ยีนกับโครโมโซม
ยีน หมายถึง ส่วนของ DNA ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โครโมโซม เป็นโครงสร้างที่มี DNA และโปรตีนเป็นองค์ประกอบ โครโมโซมจึงเป็นที่อยู่ของยีน และในแต่ละโครโมโซมมียีนอีกมากมายมาเรียงต่อๆกัน ดังนั้นลักษณะทางพันธุกรรม ที่ถูกถ่ายทอดไปจึงถูกควบคุม โดยยีนในโครโมโซมนั่นเอง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ยีนในออโตโซม และยีนในโครโมโซมเพศ